หน้าปก

การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย อย่างไรให้เหมะสม ??

หน้าปก

การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยจะออกแบบมาเพื่อใช้ในโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่ก็สามารถนำเตียงผู้ป่วยมาปรับใช้ ในการพักฟื้นผู้ป่วยที่บ้านได้เช่นเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันแก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และผู้ที่มีข้อจำกัดด้านร่างกาย ปัจจุบันจึงมีการผลิตเตียงผู้ป่วยออกมา หลากหลายรูปแบบ

เตียงผู้ป่วย VS เตียงธรรมดา 

เตียงผู้ป่วย เป็นเตียงที่ถูกออกแบบพิเศษมาให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีฟังก์ชันที่พิเศษกว่าเตียงนอนปกติทั่วไป เช่น สามารถปรับส่วนหัว ส่วนท้าย หรือปรับความสูง-ต่ำของเตียงได้ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตและการปรับสรีระร่างกาย ช่วยให้ง่ายต่อการดูแลผู้ป่วย รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ป่วยในกรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุซึ่งมีการเสื่อมถอยของร่างกายสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกดีและตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองมากขึ้นตามไปด้วย

ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของเตียงผู้ป่วย

ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของเตียงผู้ป่วย
  1. เตียงมีขนาดไม่ต่ำกว่า 90×200 เซนติเมตร เพื่อให้ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย
  2. มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 25-40 เซนติเมตร และควรมีช่องว่างใต้เตียงเพื่อกันการเตะขอบเตียง
  3. ความสูงของราวกั้นเตียงผู้ป่วยเมื่อวัดจากฟูก ไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
  4. วัสดุที่ใช้ผลิตมีความแข็งแรง ไม่เป็นสนิม พื้นผิวเรียบ ง่ายต่อการทำความสะอาด
  5. ระบุน้ำหนักสูงสุดที่เตียงสามารถรับได้ (Safe working load)

ประเภทของเตียงผู้ป่วย

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน (Manual Hospital Bed) เป็นเตียงผู้ป่วยที่ต้องอาศัยแรงในการหมุนเพลาเพื่อปรับระดับ
เตียงมือหมุน

ข้อดี

  • ราคาไม่สูง (เริ่มต้นที่ 9,000 บาท)
  • ใช้งานได้ตลอดเวลา แม้ไม่มีไฟฟ้า
  • น้ำหนักเบากว่าเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

ข้อเสีย

  • ต้องก้มและใช้แรงหมุนเพื่อปรับระดับ อาจส่งผลเสียกับสุขภาพของผู้ดูแลในระยะยาวได้
  • ผู้ป่วยไม่สามารถปรับระดับเองได้

2. เตียงผู้ป่วยแบบไฟฟ้า (Electric Hospital Bed) เป็นเตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับระดับได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

เตียงไฟฟ้า

ข้อดี

  • ลดภาระงานของผู้ดูแล
  • ผู้ป่วยสามารถปรับเตียงได้ด้วยตัวเองทันที ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองจากการช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น

ข้อเสีย

  • ราคาสูง (เริ่มต้นที่ 24,000 บาท)
  • อาศัยระบบไฟฟ้าในการทำงาน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อไฟฟ้าขัดข้องหรืออาจชำรุดง่ายกว่าแบบมือหมุน
  • ต้องอาศัยการเรียนรู้ระบบการทำงานของเตียงเล็กน้อย

อย่างไรก็ตามเตียงทั้ง 2 ประเภทสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้อีกตามความสามารถในการปรับท่าทาง หรือ “ไกร์” โดยมักจะแบ่งออกเป็นเตียงผู้ป่วย 2 ไกร์ (ปรับส่วนหัวเตียงและปลายเตียงได้) 3 ไกร์ (ปรับส่วนหัว ส่วนปลาย และระดับสูง-ต่ำได้) และ 5 ไกร์ (ปรับส่วนหัว ส่วนปลาย ระดับสูง-ต่ำได้ และท่าเฉพาะทางทางการแพทย์ 2 ท่า ได้แก่ Trendelenburg และ Reverse Trendelenburg)

อ้างอิง : Health at home

หมวดหมู่บทความ